พนมเปญ_สีหนุวิลล์_พนมโบโก_กัมปอด_พนมเปญ ตอน 2

พนมเปญ_สีหนุวิลล์_พนมโบโก_กัมปอด_พนมเปญ ตอน 2

การเดินทางเพื่อกลับสู่่กรุงพนมเปญ ด้วยเส้นทางธรรมชาติของจังหวัดกัมปอด เราลงมาเพื่อไปยังวัดสัมปรือปัน ซึ่งตั้งอยู่หน้าผา เวลาเช้าอากาศปลอดโปร่ง สามารถมองเห็น เกาะปูก๊วกของเวียดนาม ได้ส่วนข้างล่างก็จะเป็นพื้นที่ราบของจังหวัดกัมปอด หลังจากนั้นเราแวะถ่ายรูปโรงแรมที่เราพัก เมื่อคืนฝนตก เช้ามาก็ยังตกอยู่ แต่ท้องฟ้าเปิดตอนสายๆทำให้เราได้ถ่ายรูปเก็บไม่ว่า ตำหนักเก่าของเจ้านโรดมสีหนุ สร้างไว้ใกล้หน้าผาสูง ที่ปล่อยให้รกร้างเหมือน ตำหนักเจ้าศรีสวัสดิ์  ดูเหมือนว่าตำหนักเจ้านโรดมสีหนุจะเล็กกว่า. ทำให้ทางการกัมพูชา ใช้พื้นที่แนวโค้งถนนสร้างรูปปั้นของยายเมา เอาไว้ตรงนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่คนขึ้นมาที่พนมโบกโกจะต้องมากราบไหว้แล้วจะได้เห็นตำหนักนี้ด้วย ทำให้กลายเป็นจุดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง
rsz_seh5     rsz_seh9
rsz_seh2
ก่อนจะลงจากเขาเราแวะถ่ายหินแปลกข้าง ทางที่หลายคนบอกว่าเหมือนหน้าพระพุทธรูป แต่คนกัมพูชาเรียกหินนี้ว่าหน้ายักษ์ เราออกเดินทางไปเส้นทางจังหวัดกัมปอดเพื่อมุ่งหน้า เข้าสู่กรุงพนมเปญ ระยะทางร้อยกว่ากิโล. เมตรใช้เวลาเกือบสี่ชั่วโมงเพราะเส้นทางไม่เหมือนเส้นทางขามา แต่ได้เห็นท้องทุ่งนาและต้นตาลมีกระจายไปทั่ว ต้นตาลเหมือนสัญลักษณ์ของกัมพูชา เรารับรู้ข้อมูลมากมายเกี่ยบกับวิถีชีวิตของคนขะแมร์
rsz_seu_28     rsz_seu_25
rsz_seu_26     rsz_seu_29
rsz_seu_27     rsz_seu_30
เรามาถึงพนมเปญช่วงเวลาบ่ายๆเพราะเสียเวลาไปบ้างกับระยะทางแค่นี้น่าจะเดินทางเร็วมาติดขัดกับถนนที่กำลังพัฒนา จุดแรกที่เราต้องไปคือ คุกตุลสะเลง อนุสรณ์สถานแห่งความโหดร้ายในยุคเขมรแดงเรืองอำนาจการปฏิวัติประเทศนำชาวกัมพูชาสู่สงครามกลางเมืองการแย่งชิงมวลชนด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยนายพลพต ผู้นำเขมรแดง จับคนร่ำรวยศักดินา นักวิชาการ นักศึกษา หมอ และชาวบ้านที่มีความคิดแตกต่างเขมรแดงจับเอามาขังคุกแห่งนี้ โดยยึดเอาโรงเรียนประถมมัธยม นำมาดัดแปลงเป็นคุกใช้ขังผู้คนมากมายหลายหมื่นแล้วทรมานให้ยอมรับการปฏิวัติหากต่อต้านก็ถูกทรมานจนถึงกับฆ่ามากมาย วันละนับร้อยศพเอาฝังดิน ยิ่งฆ่ามันยิ่งมาก ทับถมเป็นทวีคูณไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ผู้หญิงจะถูกฆ่าอย่างที่เห็นหหลายหมื่นคนศพแล้วศพเล่ากับความเหี้ยมโหดของพลพต ซึ่งทำให้โรงเรียนนี้กลายเป็นคุกสยอง ที่คนทั่วโลกต้องเดินทางเข้ามาศึกษาว่าทำไมจิตใจถึงเหี้ยมการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุของเขมรแดง จารึกในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ
rsz_seu_19     rsz_seu_24
rsz_seu_23     rsz_seu_22
rsz_seu_21     rsz_seu_20
rsz_seu_15     rsz_seu_15-1
เราออกจากคุกตุลสะเลงมาด้วยความหดหู่ เพื่อเข้าเยี่ยมชม พระตำหนักเขมรินทร์ ซึ่งเป็นพระตำหนักหลวง สร้างขึ้นตามแบบศิลปะเขมร โดยได้รับความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสในปีค.ศ.1866 เพื่อให้เป็นที่ประทับของเจ้านโรดมสีหนุ เสด็จกลับสู่กรุงพนม เปญในปีค.ศ.1992 พระราชวังเขมรินทร์ ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณแม่น้ำ 4 สาย ของแม่น้ำโขงมาบรรจบกันเรียกตรงนั้นว่า จัตุรมุข ภายในพระราชวัง มีพระที่นั่งจันทรฉาย พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย คือ ท้องพระโรง พระราชวังนี้ยังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์กัมพูชา  เจ้านโรดม สีหมุนี  นอกจากพระราชวังเขมรินทร์ ยังมีวัดพระแก้ว ซึ่งภายในพระอุโบสถ์วัดพระแก้วมีพระแก้วมรกตเหมือนกับของไทย แต่ของเขมรเขาจะเป็นแก้วหล่อ เราไม่ได้เข้าไปดูในโบสถ์ที่ปูพื้นด้วยกระเบื้องเงิน 5,329  แผ่นน้ำหนักรวมกันถึง 5,000 ตัน เราออกจากพระราชวังเขมรินทร์ เพื่อเดินทางไปยัังภูเขาทองจำลองที่มีความสูงถึง 27 เมตร ซึ่งทางกัมพูชาเรียกสถานที่นี้ว่า วัดพนม ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของกรุงพนมเปญ มีเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพนม มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดของกัมพูชา วัดนี้สร้างในปี ค.ศ.1372  หลังน้ำท่วมใหญ ่้เศรษฐีนีชาวเขมรชื่อ เพ็ญ ได้นำไม้ลอยตามน้ำมาแต่ภายในไม้กลับซ่อนพระพุทธรูปเอาไว้ 4 องค์ ด้วยศรัทธาแรงกล้าจึงสร้างวัดนี้ไว้บนเนินเขาสูงเพื่อนำพระพุทธ รูปทั้งหมดมาประดิษฐานในพระอุโบสถความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป4องค์ทำให้ที่แห่งนี้ มีคนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นจนกลายเป็นชุมใหญ่ เพราะจุดนี้เองทำให้ตรงกลายเป็นใจกลาง. จึงมีความหมายของคำว่าพนมเปญ  เป็นชื่อเมืองหลวงนี้มาจากคำว่า พนม หมายถึง ภูเขา เปญ เป็นชื่อของผู้หญิงที่สร้างวัดพนม จึงนำมารวมกันจึงเรัยก พนมเปญ มาจนถึงวันนี้ เป็นเรื่องราวตำนานทางประวัติศาสตร์
rsz_seu_18
rsz_seu_9     rsz_seu_8
rsz_seu_7     rsz_seu_6
เราแวะไปช้อปปิ้งที่อีออนศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดของพนมเปญ แล้วไปทานข้าวมื้อค่ำก่อนจะเดินทางสู่สนามบินเพื่อเช็กอินน์ตั๋วเครื่องบินของสายการบินเจซี เพื่อเดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร เสร็จสิ้นภาระกิจย่ำกัมพูชาในหน้าฝน ขอขอบคุณ TT AVIATION&PHOTO WORLD TOUR โดยคุณสุวิทย์ และสายการบิน JC INTERNATIONAL ARLINE  ที่อำนวยความสะดวกกับทัวร์ระดับห้าดาวที่ได้รับครั้งนี้ หวังว่าโอกาสหน้าคงมีโอกาสได้ไปร่วมงานกับเส้นทางการท่องเที่ยวต่างประเทศที่แสนดี
rsz_seu_5
rsz_seu_3     rsz_seu_1
rsz_seu_10     rsz_seu_13
rsz_seu_12
rsz_seu_11     rsz_seu_14

Related posts