เที่ยวตลาดโก้งโค้ง วิถีไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา

เที่ยวตลาดโก้งโค้ง วิถีไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา

ชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว ชสท. นัดหมายสมาชิกและเพื่อนกัลยาณมิตรที่ดีต่อชมรม ออกเดินทางจาก NBT ช่อง11 เพื่อเดินทางไปสัมผัสวิถีตลาดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยารุ่งเรือง  เพราะตลาดแห่งนี้เคยเป็นขนอนใหญ่  จุดพักเรือขนถ่ายสินค้าในสมัยโบราณ. ทำให้บ้านแสงโสมในเขตอำเภอบางปะอิน มีตลาดค้าขายที่มีรูปแบบในสมัยโบราณ ได้กลับมามีชีวิตชีวา เปิดขายตั้งแต่วันพฤหัส-อาทิตย์ และ วันนักขัตฤกษ์  โดยมี คุณนภาพร  เวชพฤกษ์พิทักษ์ ผู้จัดการตลาดโก้งโค้ง และ หมู่บ้านเรือนไทยแสงโสม 14 หลัง ข้างตลาด

gk01     gk02

ตลาดโก้งโค้ง ดำรงวิถีตลาดโบราณมายาวนาน ซึ่งมักมีกิจกรรมในช่วงเทศกาลสำคัญของไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแนววิถีไทย ทาง คุณ วรางคณา  สุเมธาวัน ประธานชมรม ชสท. จึงประสานไปทาง คุณสมชาย ชมภูน้อย  ผอ.การท่องเที่ยวภูมิภาคภาคกลาง และ คุณอิสระพงษ์ ผอ.การท่องเที่ยวจังหวััดพระนครศรีอยุธยา เจ้าถิ่น มาช่วยกันส่งเสริมตลาดโก้งโค้งแและหมูบ้านเรือนไทยแสงโสม การต้อนรับคณะเรา ด้วยกลองยาวอยุธยา นำไปไหว้พ่อปู่และไปกราบศาลสมเด็จพระนเรศวร ก่อนจะพาเราไปชมความงามของหมู่บ้านเรือนไทย ซึ่งเหมาะแก่การจัดงานแต่งงานทั้งไทยและต่างปะเทศ มีความสวยงามด้วยรูปแบบบ้านทรงไทยกับวัฒนธรรมไทย

gk03     gk09

…จากนั้นเรามารับประทานอาหารไทยที่บ้านเรือนไทยกลางน้ำด้านตะวันตก หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ช่วยกันกระจายรายได้ซื้อสินค้าพื้นเมือง  ก่อนจะพาเราไปวัดทองบ่อ เป็นวัดมอญแห่งเดียวที่มีพระพุทธรูปสามพี่น้อง คือ พระพุทธรูปพระพี่นางสุพรรณกัลยา พระพุทธรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ พระพุทธรูปพระเอกาทศรถ ไว้ในศาลามอญไม่ได้เปิดให้ชมเพราะวัดนี้เก็บรักษาเรื่องราวของชาวมอญที่เข้ามาอาศัยในกรุงศรีอยุธยาราชธานี

gk05     gk06

..ก่่อนจะกลับในช่วงเย็นเรามีโอกาสได้ข้ามกระเช้าไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไปชมของวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ วัดที่อยู่ตรงข้าม พระราชวังบางปะอินเพราะสิ่งก่อสร้างกุฏิและพระอุโบสถในรูปแบบกอธิค สร้างในสมัยรัชกาลที่5 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยะมหาราช ทรงสร้างขึ้นให้แตกต่างจากวัดอื่นๆเพราะเป็นวัดในเขตพระราชฐาน ได้พบความงามที่แปลกตาสร้างมาร้อยกว่าปีแล้วได้รับการบูรณะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยังคงความสวยงามก่อนที่ชาวคณะ ชสท.จะล้อหมุนกลับกรุงเทพในเย็นวันนั้น.

gk08     gk04

gk10     gk11

gk12     gk15

gk13     gk14

gk16     gk17

Related posts