พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ร่วมกับ สถาบันพัฒนาคุณภาพวชิาการ (พว.)

               วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ณ ห้องประชุม ชั้น 5 สถาบันพัฒนา คุณภาพวิชาการ (พว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งพิธี ในวันนี้เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. โดยมีผู้บริหารระดับสูง แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน มีการแถลงความร่วมมือโดยตัวแทนจากทั้งสองฝ่าย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวลักษณ์ เวชวิทยาขลัง อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา สังข์พุ่ม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

               ความร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเป็นนวัตกรทางการศึกษาตามฐานสมรรถนะ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาครูประจำการทุกสังกัด ให้ได้เลื่อนวิทยฐานะ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล และผลิตผลงานทางวิชาการ เพื่อร่วมพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้าน การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลทุกรูปแบบ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเป็น Coaching and Mentoring ของครูประจำการ ตลอดจนขับเคลื่อนโครงการฝึกอบรมสัมมนาให้กับผู้บริหาร คุณครูประจำการทุกระดับชั้น ในช่วงพิธีแถลงข่าวทางมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีร่วมกับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จัดให้มีการประกวดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อรองรับ การประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา โดยแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เป็นวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอน การปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือนำไปสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือ วิชาชีพนั้น ๆ และมีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน มีการสรุปวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจน ความรู้และประสบการณ์ที่ได้บันทึกเป็นเอกสาร และเผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้ ซึ่งอาจเกิดจากตัวบุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps สำหรับใช้กับนักเรียนระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา เนื่องมาจากในการทำงาน ทุกคนจะเกิดการเรียนรู้วิธีไปสู่เป้าหมายของหน่วยงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติจะเรียนรู้ การแก้ปัญหาที่ดีได้จากการเสนอแนะของผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ

               ซึ่งก่อให้เกิด การสร้างสรรค์วิธีการใหม่ ๆ หรือวิธีการที่ดีกว่าเดิม นอกจากกิจกรรมดังกล่าวจะเกิดประโยชน์โดยตรงต่อนักเรียน แล้วยังส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและตอบโจทย์การประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา (สมศ.) จึงเป็นเหตุผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีร่วมกับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จัดโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกวดและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา 

               ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย และสังกัดกรุงเทพมหานคร ส่งผลงานเข้าร่วม โครงการไม่น้อยกว่า 500 ผลงาน และโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีเวทีในการเผยแพร่ผลงานแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา

Related posts