MUT ย้ำจุดยืนกว่า 3 ทศวรรษ แนวคิดแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ชูวิสัยทัศน์ ‘สร้างบัณฑิตและนวัตกรคุณภาพสู่ภาคอุตสาหกรรม’ มุ่งสู่เป้าหมาย ‘มหาวิทยาลัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับนานาชาติ’

             กรุงเทพฯ, 27 กรกฎาคม 2565 : เป็นเวลากว่า 33 ปี ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในวงการวิศวกรรม บริหารธุรกิจ และสัตวแพทย์ ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยฯ  นับตั้งแต่วันก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน  MUT ยังคงมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มุ่งเน้นการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกทั้งยังให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ควบคู่กันในทุกคณะ ทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรและคุณภาพการเรียนการสอนให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ก่อให้เกิดผลงานวิจัยชั้นนำที่โดดเด่น ทั้งแนวคิดและนวัตกรรม ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ MUT ในหลายมิติ นอกจากนี้ บัณฑิตจาก MUT ยังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ เพราะ MUT ได้ทำการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานอย่างแท้จริง  จึงส่งผลให้สถิติการได้งานทำของบัณฑิตมหานครสูงถึง 95% รวมถึงยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนอันดับหนึ่งของไทย ด้านวิจัย นวัตกรรมและสังคม จากการจัดอันดับของ  SCImago Institutions Rankings หรือ SIR ในปี 2021 ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความตั้งใจ ความมุ่งมั่นดังวิสัยทัศน์ที่ว่า “บัณฑิตและนวัตกรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครจะต้องเป็นที่ยอมรับและต้องการของภาคอุตสาหกรรม” และเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จตามพันธกิจในการเป็น “มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีที่ดีเยี่ยมสำหรับทุกคน (Premium Technological University for All)”

               คำมั่นสัญญาในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คือการมุ่งมั่นผลิตบัณฑิตผู้ไม่เคยหยุดเรียนรู้ (lifelong learners) บัณฑิตผู้เป็นนวัตกรและบุคลากรผู้ชำนาญการอันเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง MUT ดำเนินวิถีเช่นนี้อย่างต่อเนื่องและจะยังคงดำเนินอยู่ต่อไป  MUT ยังยึดมั่นต่อปณิธานของผู้ก่อตั้งที่ว่า ‘SCIENTIA POTESTAS EST’ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ความรอบรู้สรรพวิทยาต่าง ๆ จะนำไปสู่พลังสร้างสรรค์ หรือ “ความรู้คือพลัง” (Knowledge is Power) สิ่งนี้ทำให้คณะผู้บริหารและคณาจารย์ของ MUT มีความเชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ทุกคน และไม่เคยปฏิเสธโอกาสหรือปิดกั้นอนาคตของใคร MUT จึงเปิดกว้างในการรับนักศึกษา ทั้งจากผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีวศึกษา หลากหลายสาขาอาชีพ ในทุกระดับอายุ เพื่อสร้างความรู้และทักษะในการทำงานทั้งด้าน hard skills และ soft skills ที่แข็งแกร่งรอบด้านแบบองค์รวมให้เกิดขึ้นในตัวนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ไปจนจบการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาสำเร็จเป็นบัณฑิตที่เปี่ยมคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญ ที่ช่วยพัฒนาประเทศชาติทุกภาคส่วนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน นอกจากนี้ MUT ยังอุทิศตนด้วยการตอบแทนกลับสู่สังคมผ่านโครงการวิจัยและพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในด้านวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงกิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง MUT กับชุมชนซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนได้อีกทางหนึ่ง

เชี่ยวชาญและรู้จริง ตอบโจทย์อาชีพยุคดิจิทัล

              MUT เริ่มเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2533 ในนาม ‘วิทยาลัยมหานคร (Mahanakorn College)’[1] หลังจากเปิดสอนได้เพียง 3 ปีเศษก็ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนประเภทเป็น มหาวิทยาลัย ในชื่อ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร” ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการเปลี่ยนประเภทเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์   เป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษ ที่ MUT เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับว่ามีความเชี่ยวชาญอย่างมากในด้านวิศวกรรม ตั้งแต่บัดนั้นจวบจนปัจจุบัน MUT ยังคงมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้ทันตามยุคสมัยและรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทั้งทางด้าน Hardware และ Software ไม่ว่าจะเป็นอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์ ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงผลักดันและส่งเสริมงานวิจัยของนักศึกษาและคณาจารย์เพื่อก้าวสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีที่ดีเยี่ยมสำหรับทุกคน (Premium Technological University for All)”

               8 นโยบายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Policy Framework, SPF) ในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุตามปณิธานและวิสัยทัศน์ของ MUT เพื่อสร้างบัณฑิตที่เปี่ยมด้วยคุณภาพและพร้อมก้าวสู่อาชีพในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง มีดังนี้

  1. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงวิสัยทัศน์และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  2. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนการเรียนการสอน และการบริการ
  3. สนับสนุนให้คณาจารย์มีผลงานวิจัย และบทความวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ อยู่ในระดับชั้นเยี่ยม
  4. สร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกับภาคอุตสาหกรรม
  5. ปลูกฝังนักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความรับผิดชอบและมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัย
  6. เสริมสร้างความมีระเบียบวินัยและจิตสำนึกของประชาคมมหานครให้มีความเป็นไทย รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  7. สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาและการทำงาน
  8. สร้างความร่วมมือกับศิษย์เก่าและชุมชน

ทำไมต้องเป็น MUT

               แน่นอนว่าในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกในทุก ๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม วงการแพทย์ รวมถึงด้านการศึกษา แต่สำหรับที่ MUT แล้ว นอกจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน

ผศ. ดร. ภานวีย์ โภไคยอุดม
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

               ผศ. ดร. ภานวีย์ โภไคยอุดม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร  กล่าวว่า “แนวทางการจัดการศึกษาของ ม. เทคโนโลยีมหานคร เรามุ่งเน้นให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ใช้แนวทางการเรียนการสอนแบบเชิงรุก เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำเอาทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างเข้าใจ และเน้นประสบการณ์เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ Problem-based Learning (PBL) รวมถึงการพัฒนาทักษะทางด้าน soft skills ที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการเพิ่มมากขึ้นควบคู่ไปกับทักษะทางด้าน hard skills ที่ได้จากการเรียนการสอน ทั้งทักษะทางความคิด ทักษะทางการแก้ปัญหา ทัศนคติเชิงบวกและการทำงานเป็นทีม เพื่อให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตและนวัตกรที่เปี่ยมคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต”

เรียนจริง รู้จริง ลงมือทำจริง

               MUT มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถในระดับสากล  จึงได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวครอบคลุมทั้งเรื่องการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวิจัย การแลกเปลี่ยนคณาจารย์เพื่อทำงานวิจัยและอื่น ๆ การจัดตั้งห้องวิจัย Mahanakorn Laboratory ที่ Imperial College ประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นห้องวิจัยและห้องปฏิบัติการของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งมีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักศึกษา การวิจัยกับ The University of New South Wales ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น MUT ยังส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับองค์กรภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการนำปัญหาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อฝึกหัดให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่ยังเรียนอยู่ที่ MUT ภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละคณะ แต่ละสาขาวิชา อันเป็นการต่อยอดกระบวนการทางความคิดและเพิ่มพูนประสบการณ์ในการทำงานของนักศึกษาในอนาคต อีกทั้งยังสนับสนุนให้มีการประกวดแข่งขันทางวิชาการในด้านต่าง ๆ จนสามารถคว้ารางวัล สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยในระดับประเทศ ได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติ  และประสบความสำเร็จในการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง

ศ. ดร. จิรยุทธ์ มหัทธนกุล
รองอธิการบดีระดับสูงฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ และ
ผู้อำนวยการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUTIC)
ศ. ดร.วิษณุ มีอยู่
รองอธิการบดีระดับสูงฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ
รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

               เพื่อให้นักศึกษาของ MUT ได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้แบบเรียนจริง ลงมือทำจริง MUT จึงได้ลงทุนด้านอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกทักษะ มีความพร้อมและมีประสบการณ์จากการได้ทดลองและฝึกปฏิบัติจริง นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จะได้ทำการทดลองและฝึกปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือในห้องปฏิบัติการในระดับที่เทียบเท่ากับสิ่งที่นักศึกษาจะได้ใช้จริงในโลกของการทำงาน อาทิ ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ (Robotics LAB) ที่รวบรวมแขนกลโรงงานระดับ แบรนด์ชั้นนำ ABB KUKA และ Han’s   ห้องพิมพ์ขึ้นรูปสามมิติ (3D Printing Room) โรงงานผลิตน้ำดื่ม (Process Control and Automation LAB) ห้องปฏิบัติการ PLC Mitsubishi และ PLC Siemens (Programmable Logic Control) ห้องปฏิบัติการขั้นสูง อาทิ ห้อง Advanced Electronics LAB เป็นห้องปฏิบัติการเครื่องมือเฉพาะ สำหรับการตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าระดับพิเศษความถี่สูง การเกิดสัญญารบกวน คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณการสื่อสารไร้สาย และห้อง Embedded and AI ห้องปฏิบัติการที่ประกอบด้วยเครื่องมือวัด โปรแกรมประยุกต์ สื่อการพัฒนาระบบ ซึ่งมีการใช้งานระดับอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากการสำรวจความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อปรับปรุงหลักสูตรและอุปกรณ์ให้ทันสมัยและเทียบทันกับภาคอุตสาหกรรม

               สำหรับคณะบริหารธุรกิจ MUT มีคณาจารย์ที่เปรียบเสมือนโค้ชมืออาชีพ พร้อมแนะนำกลยุทธ์ธุรกิจ มีการวิเคราะห์ และวางแผน จัดการเรียนการสอนให้ทันต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล ซึ่งจะสร้างโอกาสและสร้างความได้เปรียบในยุคที่มีการแข่งขันสูง

               ในด้านคณะสัตวแพทยศาสตร์ MUT เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่ได้รับการอนุมัติหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต โดยสัตวแพทยสภา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก และโรงพยาบาลสัตว์ใหญ่เพื่อการเรียนการสอน เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์มาตรฐานเพื่อให้บัณฑิตคณะสัตวแพทยศาสตร์มีความรู้ ความเข้าใจ รู้จริง ทำได้จริง สามารถพัฒนาทักษะ และเต็มเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในการรักษาจริง นอกจากนี้ MUT ยังได้เปิดสอนในสาขาวิชาการพยาบาลสัตว์ ที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีทักษะ มีความสามารถ และมีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพควบคู่กับสัตวแพทย์

               ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) เปิดการเรียนการสอนอยู่ 3 ความเชี่ยวชาญ ได้แก่ วิศวกรรรมศาสตร์และเทคโนโลยี บริหารธุรกิจ และสัตวแพทยศาสตร์ ครอบคุลมทุกสาขาวิชาที่ตอบโจทย์อาชีพในยุคดิจิทัล ทั้งหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก  นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2564 ได้ก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติเทคโนโลยีมหานคร (Mahanakorn University of Technology International College – MUTIC) ขึ้น และเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ใน 2 สาขาความเชี่ยวชาญ คือ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และบริหารธุรกิจ โดยทุกหลักสูตรมีเป้าหมายหลัก คือ การสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งอย่างเป็นองค์รวมให้แก่นักศึกษาตั้งแต่ปีแรก ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย และเน้นการปฏิบัติจริง รวมถึงมีสนับสนุนทุนการศึกษาและวิจัย โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ที่ทาง MUT และ MUTIC มีการทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศอีกด้วย

               นอกจากนี้ MUT ยังมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชารวมกว่า 400 ท่าน ที่พร้อมให้ความรู้แก่นักศึกษาอย่างเต็มความสามารถ นักศึกษาทุกคนรับรู้ได้ถึงความใส่ใจของคณาจารย์ การถ่ายทอดวิชาความรู้พร้อมพัฒนาทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดขึ้นในจิตใจของนักศึกษาทุกคน

สร้างคน สร้างชาติ ตอบแทนสังคม

               เพราะโลกไม่เคยหยุดสร้างสรรค์ เราจึงไม่หยุดพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร แหล่งสร้างสรรค์นวัตกรสู่ยุคนวัตกรรมแห่งอนาคต…

               แนวคิดการบริหารและการจัดการศึกษาในมุมมองที่แตกต่าง สร้างสรรค์และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) และการยึดมั่นในปรัชญาของผู้ก่อตั้ง “ความรู้คือพลัง” MUT จึงเปิดกว้างสำหรับทุกคน และไม่ปฏิเสธโอกาสหรืออนาคตของใคร ไม่ว่าจะเรียนจบสายอะไร อายุเท่าไร หากเป็นผู้ที่มีความฝันที่ชัดเจน มุ่งมั่นตั้งใจ และมองเป้าหมายอนาคตไว้อย่างชัดเจนก็สามารถเข้ามาเรียนที่ MUT ได้

               “มหาวิทยาลัยฯ ของเราผลิตบัณฑิต วิศวกร และนักนวัตกร ออกสู่ตลาดแรงงานทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 1,000 คนในแต่ละปี เราเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี บัณฑิตที่จบจาก MUT มีอัตราการได้งานทำถึง 95% ภายใน 6 เดือนหลังจากจบการศึกษา  ส่วนอีก 5% นั้นคือเป็นเจ้าของธุรกิจหรือศึกษาต่อ ซึ่งสถิตินี้เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงต่อเนื่องยาวนาน แม้เราจะมุ่งเน้นพัฒนาด้านการศึกษาวิจัย รวมถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว เรายังตระหนักถึงความรับผิดชอบในด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งนอกจากเราให้ความสำคัญในเรื่องความรู้ทางด้านวิชาการแล้ว แน่นอนว่าการสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษา และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ โดยผมมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาต่อยอดในระยะยาว เริ่มต้นจากภายในมหาวิทยาลัยไปสู่ชุมชนกระจายไปสู่ท้องถิ่นและไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศ” ดร. ภานวีย์ กล่าวสรุป


 

Related posts