รู้หรือไม่? 2 ธันวาคมนี้ ทุกอาคารสูงต้องติดตั้งเครื่อง AED! มาตรการเพิ่มความปลอดภัยภาคประชาชน

              แน่นอนว่าอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะ เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม คอนโดมีเนียม อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่โรงภาพยนตร์นั้น ย่อมจะมีผู้เข้าออกผลัดกันใช้บริการเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งอาจมีอุบัติภัยหรืออาการเจ็บป่วยเฉียบพลันเกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ภายในอาคาร การให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจึงสำคัญมาก แต่ปัจจุบันพบว่าอาคารสาธารณะบางแห่งเข้าถึงยาก โดยเฉพาะการจราจรในบ้านเราที่อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ด้านการดูแลฉุกเฉินไปถึงจุดเกิดเหตุได้ล่าช้า อาคารไม่มีจุดจอดรถฉุกเฉิน หรือที่มีอยู่ยังไม่เหมาะสม ทำให้ปฏิบัติการเพื่อช่วยชีวิตผู้ประสบภัยเป็นไปได้ยาก การอำนวยความสะดวกหรือจัดการให้มีความพร้อมต่อการเข้าไปช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องที่เจ้าของหรือผู้ดูแลอาคารพึงให้ความสำคัญ  โดยล่าสุดกระทรวงมหาดไทย ได้ออกกระทรวง ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีใจความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะหลายด้าน อาทิ ให้อาคารสูงและและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่เป็นอาคารสาธารณะต้องจัดให้มีช่องทางเฉพาะสำหรับบุคคลภายนอกเข้าไปบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดในอาคารได้ทุกชั้น ต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับยานพาหนะ ในการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยหรือภัยพิบัติ ได้แก่ รถดับเพลิง รถพยาบาลหรือรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยเจ้าของอาคารต้องดูแลให้เข้าถึงได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง จัดให้มีลิฟต์สำหรับเคลื่อนย้าย ผู้ประสบภัยหรือผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงจัดให้มีพื้นที่หรือตำแหน่งเพื่อติดตั้งเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator) หรือ AED ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค.  นี้ เป็นต้นไป

              เหตุที่ต้องมีเครื่อง AED ในอาคารสูง? เนื่องจาก AED คือ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator) ที่สามารถวิเคราะห์อัตราการเต้นของหัวใจ และใช้ไฟฟ้ากระตุกหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะ “SCA (Sudden Cardiac Arrest)” หรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันให้กลับมาเต้นเป็นปกติอีกครั้ง เครื่อง AED และการทำ CPR ที่ดีจึงมีความสำคัญต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยในระหว่างรอให้รถพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพเดินทางมาถึง ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงการเรียนรู้ขั้นตอนของห่วงโซ่การรอดชีวิต ด้วยการใช้เครื่อง AED เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉินจากภาวะ SCA ซึ่งประเทศไทยยังมีการติดตั้งในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่น

              หากพบผู้ป่วย SCA ในอาคารสูง ต้องเรียก 1669 พร้อมถามหาเครื่อง AED ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือให้หัวใจกลับมาเต้นด้วยการทำ CPR ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงสมองและอวัยวะต่าง ๆ เพราะหากขาดนานถึง 4 นาที ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง และอาจเสียชีวิตภายใน 10 นาที ดังนั้น 10 นาทีแรกของการช่วยชีวิตจึงสำคัญมาก! ยิ่งใช้เวลานานเท่าไร โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยก็น้อยลงเท่านั้น  ดังนั้น เมื่อพบเห็นผู้มีอาการ SCA ในอาคารสูงหรืออาคารสาธารณะต่าง ๆ สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือเรียก 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ และถามหาเครื่อง AED ที่ใกล้ที่สุดจากผู้ดูแลอาคาร หรือ รปภ. เพื่อช่วยทำ CPR และใช้เครื่องกระตุกหัวใจ ระหว่างที่รอความช่วยเหลือมาถึง โดยระหว่างการช่วยเหลือห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด เพราะจะเป็นการรบกวนการช่วยเหลือต่าง ๆ 

              แต่ขณะเดียวกันไม่ควรติดตั้งเครื่อง AED ในจุดที่แสงแดดหรือน้ำฝนเข้าถึง เพราะอาจจะทำให้เสื่อมสภาพเร็วกว่าอายุการใช้งาน และไม่ติดตั้งในห้องที่ล็อกกุญแจ จะทำให้ยากต่อการเข้าถึงเพื่อนำมาใช้ ทั้งนี้ เจ้าของหรือผู้ดูแลอาคารควรจัดให้มีบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบดูแลสถานที่ อาทิ รปภ. มีการตรวจตราเครื่อง AED ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงควรจัดให้มีการอบรมให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ ที่มาใช้บริการอาคารให้รู้จักวิธีใช้เครื่องอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

              ดูข้อมูลเพิ่มเติมและดูรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่อง AED ที่เหมาะสำหรับอาคารสาธารณะ ได้ที่ https://www.zoll.com/products/%20aeds/aeds-for-public-access หรือสอบถามรายละเอียดโทร. 02-275-5501

Related posts